Sports News

“นกกระสาปากพลั่ว” นกสายโหดแห่งแอฟริกา กินลูกจระเข้-กำจัดพี่น้องตัวเอง

แม้ ชาร์ลส ดาร์วิน จะบอกไว้ว่า ผู้ที่จะอยู่รอดไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด ไม่ใช่ผู้ที่ฉลาดที่สุด แต่คือผู้ที่ปรับตัวได้ดีที่สุด แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “นกกระสาปากพลั่ว” แล้ว การจะอยู่รอดได้หรือไม่นั้น วัดกันตั้งแต่เกิด

นกกระสาปากพลั่ว หรือ Shoebill (Balaeniceps rex) นั้น มีจะงอยปากขนาดใหญ่ที่ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตรหรือ 1 ไม้บรรทัด ทำให้มันเป็นนกที่จะงอยปากใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ทำให้หน้าตาของมันบางมุมก็ดูน่ารัก บางมุมก็ดูติงต๊อง และบางมุมดูแล้วค่อนข้างน่ากลัว

นักวิทย์ทึ่ง! พบวาฬเพชฌฆาตสุดโหด ลุยเดี่ยวล่าฉลามขาวกินเป็นอาหาร

ครั้งแรก! นักวิทย์พบหลักฐานการผสมพันธุ์ของวาฬหลังค่อมเพศเดียวกัน

รู้จัก “ตะกวดไร้หู” สิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับ “มังกร” มากที่สุดในโลก

นกกระสาปากพลั่ววัยรุ่นหรือตัวเต็มวัยจะมีสีเทา อาศัยอยู่บริเวณบึงใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก แถบประเทศซูดานและแซมเบีย

เจ้านกที่ดูไปก็คล้ายนกที่หลุดออกมาจากยุคโบราณนี้ สามารถโตเต็มที่มีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร หรือเทียบได้กับคนตัวเล็ก ๆ เลยทีเดียว โดยช่วงขาของมันจะมีความคล้ายกับนกกระสาหรือนกกระยางที่พบเห็นได้ทั่วไป

ด้วยปากอันใหญ่ยักษ์และขาเรียวยาวนี้เอง ทำให้นกกระสาปากพลั่วเป็นนักล่าซุ่มโจมตีที่น่าเกรงขาม โดยเวลาล่าเหยื่อ มันมักจะยืนนิ่งสนิทเพื่อรอคอย เมื่อเหยื่อเผลอก็จะพุ่งไปข้างหน้าเพื่อคว้าจับเหยื่อไว้ในปากและกลืนลงไปทั้งตัว

การศึกษาในปี 2015 ที่ตีพิมพ์ในวารสารปักษีวิทยาแห่งแอฟริกา พบว่า ปลาดุกเป็นอาหารยอดนิยมของนกชนิดนี้ โดยคิดเป็นประมาณ 71% ของอาหารทั้งหมด อย่างไรก็ตาม นกกระสาปากพลั่วยังชอบกินปลาไหล งู และแม้แต่ “ลูกจระเข้” ด้วย

นกกระสาปากพลั่วส่วนใหญ่จะอยู่ตัวเดียวเดี่ยว ๆ ไม่อยู่เป็นฝูง และเมื่อมีคู่จะมีแค่ตัวเดียว ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ครั้งละมากที่สุดเพียง 3 ฟอง

ที่น่าสนใจคือ ใน 3 ฟองนี้มักมีแค่ตัวเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้ เนื่องจากมักมีการแข่งขันกันรุนแรงระหว่างพี่น้อง โดยลูกนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมักมีพฤติกรรมจิกกัดพี่น้องที่ตัวเล็กกว่า โดยบางครั้งอาจเพื่อแย่งอาหารที่แม่นำมาป้อน แต่บางครั้งก็รุนแรงถึงขนาดทำให้พี่น้องตายเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ในสายตาของแม่นกแล้ว ลูกนกตัวที่มีขนาดเล็กนั้น ถูกมองเป็นเพียง “อะไหล่สำรอง” หากลูกนกตัวใหญ่สุดตายเท่านั้น

พฤติกรรมดังกล่าวเคยถูกบันทึกไว้ในซีรีส์ BBC David Attenborough เรื่อง “Africa” ซึ่งแสดงให้เห็นลูกกระสาปากพลั่วที่ตัวใหญ่ที่สุดกำลังกัดพี่น้องของมัน และเมื่อแม่กลับคืนสู่รัง มันก็จะสนใจแตต่ลูกที่ตัวโตเท่านั้น และไม่ไยดีลูกที่ตัวเล็กเลย

ทั้งนี้ แม้ว่าเราจะเรียกนกชนิดนี้ว่า นกกระสาปากพลั่ว แต่ความจริงแล้วมันเป็นเป็นนกเพียงชนิดเดียวในสกุล Balaeniceps และวงศ์ Balaenicipitidae ซึ่งญาติที่ใกล้ชิดที่สุดจริง ๆ คือนกกระทุง ไม่ใช่นกกระสา

บรรพบุรุษของมันสามารถย้อนไปได้ถึง Pelecaniformes ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดยุคครีเทเชียส (145 ล้านถึง 66 ล้านปีก่อน)

ปัจจุบัน นกกระสาปากพลั่วถูกระบุว่า “มีความเสี่ยง” (Vulnerable) ในบัญชีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) โดยทั้งโลกเหลือประชากรเพียง 5,000-8,000 ตัว เท่านั้น

เรียบเรียงจาก Live Science

ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนซิตี้ แซงชนะ แมนยู 3-1 โฟเด้น เบิ้ล

“โยเกิร์ต” มูฟออน! ลบเกลี้ยงทุกอย่างเกี่ยว “พีเค” ด้านนางแบบเวียดนามเคลื่อนไหว หลังถูกเอี่ยวดราม่า คำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม

กยศ.คืนเงินลูกหนี้ 3,494 ราย 97 ล้านบาท หลังใช้เกณฑ์คำนวณหนี้ใหม่